กวีโวหาร หมายถึง ถ้อยคำ สำนวน
และชั้นเชิงในการแต่งคำประพันธ์ของกวีซึ่งมุ่งให้เกิดประสิทธิผลทางอารมณ์แก่ผู้อ่านผู้ฟัง
กวีโวหารซึ่งเป็นกระบวนการแต่งคำประพันธ์
มี ๔ ประเภท ดังนี้
๑) เสาวรจนี คือ
การแต่งบทประพันธ์ให้มีเนื้อความทำนองชมโฉมหรือชมความงามด้านกายภาพของบุรุษหรือสตรี
เช่น ตอนที่ทศกัณฐ์ชมโฉมนางสีดา ดังคำประพันธ์ว่านี้
“พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร
พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์
พิศเนตรดั่งเนตรมฤคิน
พิศทนต์ดั่งนิลอันเรียงราย
พิศโอษฐ์ดั่งหนึ่งแย้มสรวล
พิศนวลดั่งศรีมณีฉาย
พิศปรางดั่งปรางทองพราย
พิศกรรณคล้ายกลีบบุษบง”
(รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
๒) นารีปราโมทย์ คือ
การแต่งบทประพันธ์ให้มีเนื้อความทำนองฝากรักหรือเกี้ยวพาราสี
เพื่อแสดงความรักต่อนางผู้เป็นที่รักของตน เช่น ตอนที่ท้าวทุษยันต์เกี้ยวนางศกุนตลา
ดังคำประพันธ์ว่านี้
“โฉมเฉลา
นงเยาว์ยั่วยวนเสน่หา
กามเทพแผลงศรบุษบา
ต้องอุราเรียมไหม้ดังไฟกัลป์
ยามพี่แรกเห็นอนงค์นาง
พี่เหมือนกวางต้องศรแทบอาสัญ
ยืนนิ่งพินิจพิศพรรณ
เลอสรรรูปเรี่ยมเอี่ยมอุไร”
(ศกุลตลา พระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๓) พิโรธวาทัง คือ
การแต่งบทประพันธ์ให้มีเนื้อความทำนองแสดงความเคียดแค้น ตัดพ้อต่อว่า เสียดสี
เหน็บแนม ประชดประชัน หรือเยาะเย้ย เช่น ตอนที่นางวันทองด่าขุนช้าง
ดังคำประพันธ์ว่านี้
“อ้ายเจ้าชู้ลอมปอมกระหม่อมบาง
ลอยชายลากหางเที่ยวเกี้ยวหมา
ชิชะแป้งจันทน์น้ำมันทา
หย่องหน้าสองแคมเหมือนหางเปีย
หมามันจะเกิดชิงหมาเกิด
มึงไปตายเสียเถิดอ้ายห้าเบี้ย
หน้าตาเช่นนี้จะมีเมีย
อ้ายมะม่วงหมาเลียไม่เจียมใจ”
(เสภา
เรื่อง ขุนช้างขุนแผน)
๔) สัลลาปังคพิสัย คือ
การแต่งบทประพันธ์ให้มีเนื้อความทำนองคร่ำครวณคะนึงหา
หรือรำพันถึงบุคคลอันเป็นที่รักเมื่อยามพรากจากกัน หรือไม่สมปรารถนา เช่น
ตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาแล้วทำเป็นตายลอยน้ำมา เมื่อพระรามทอดพระเนตรเห็น
ทรงคิดว่าเป็นนางสีดาจริง ทรงคร่ำครวญ ดังคำประพันธ์ว่านี้
“พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์
ในวารินทะเลวน
เห็นรูปอสุรกล
อันกลายแกล้งเป็นสีดา
ผวาวิ่งประหวั่นจิต
ไม่ทันคิดก็โกศา
กอดแก้วขนิษฐา
ฤดีดิ้นอยู่แดยัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น