ท้องถิ่น
ถ้อยคำภาษาที่ใช้ในวรรณคดีท้องถิ่น
ส่วนใหญ่เป็นภาษา ที่ใช้ในท้องถิ่น คำภาษาถิ่นที่ใช้ จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
วรรณคดีที่พบ เป็นวรรณคดีของท้องถิ่นใด วรรณคดีท้องถิ่นบางเรื่อง มีคำภาษาบาลี
หรือภาษาเขมร ปะปนอยู่บ้าง ถ้าเป็นวรรณคดีสมัยหลังบางเรื่อง
อาจใช้คำภาษาไทยกลางด้วย วรรณคดีเก่าแก่ ของอีสาน และล้านนา จะใช้ศัพท์โบราณ
ซึ่งมีปรากฏ ในวรรณคดีภาคกลางสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาด้วย ศิลปะการใช้ภาษา
ในวรรณคดีท้องถิ่นมีหลายระดับ โดยขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และเจตนาของผู้แต่ง
ประกอบกับโอกาส และสถานการณ์ในการถ่ายทอด หากผู้แต่งเป็นกวี
ที่เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต มีความรู้ ด้านอักษรศาสตร์สูง
และเป็นการแต่งในโอกาสพิเศษ เช่น แต่งถวายเจ้านาย หรือกวีผู้แต่งมีเวลาขัดเกลา
ไม่ต้องรีบร้อนเผยแพร่ ถ้อยคำภาษาที่ใช้ ก็มักมีความประณีต ไพเราะสละสลวย
งดงามทั้งเสียง และความหมาย แต่ถ้าผู้แต่งเป็นกวีชาวบ้าน ที่มีความรู้
ในวงศัพท์น้อย ทั้งยังมีความจำเป็นต้องรีบแต่งให้เสร็จ เพื่อนำออกเผยแพร่โดยเร็ว
เช่น แต่งเพลงพื้นบ้าน เพื่อใช้ร้องโต้ตอบกันสดๆ หรือผู้แต่งมุ่งเสนอเนื้อหา
มากกว่าวรรณศิลป์ ถ้อยคำภาษาที่ใช้ ก็มักขาดความประณีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านเสียงสัมผัส และการเลือกใช้คำภาษาบาลีให้เหมาะกับความหมาย
ตัวอย่างของบทประพันธ์ ที่กวีสามารถใช้ถ้อยคำ ได้อย่างไพเราะ
มีความงามทั้งเสียงและความหมาย ได้แก่ โคลงเรื่อง มังทรารบเชียงใหม่ ของล้านนา
ซึ่งพรรณนาความงามของพระราชวัง และสิ่งก่อสร้าง ในเมืองเชียงใหม่
ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ามังรายว่า มีความแข็งแรง และงดงามเหมือนวิมานของเทวดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น